การศึกษาภาษาจีนในเมืองเชียงใหม่เกิดขึ้นอย่างไม่เป็นทางการ
กลุ่มบุคคล สำคัญคือนายแต้ตี่หย่ง นายฉั่วสุ้นฮี้ นายเหลี่ยวอุ่ย และนายเอ็งเอียวฮก ได้ร่วมกับชาวจีนในเมืองเชียงใหม่ ก่อตั้ง "โรงเรียนฮั่วเอ็ง" ขึ้นอย่างเป็นทางการ เปิดสอนเป็นภาษาจีนแต่จิ๋ว มีการซื้อที่ดินบนถนนช้างคลานเนื้อที่ 4 ไร่เศษ ใช้เป็นที่ตั้ง โรงเรียน และได้จัดซื้อที่ดินด้านหลังโรงเรียนเพิ่มอีกสองแปลง มีเนื้อที่รวม 2 ไร่ 109 ตารางวา
ผู้นำของโรงเรียนฮั่วเอ็ง โดยการนำของ นายตั้งง่วนชุน ได้ก่อตั้ง "โรงเรียนฮั่วเคี้ยว" เพื่อสอนเป็นภาษาจีนกลาง ขึ้นบนที่ดินที่จัดซื้อไว้บนถนนลอยเคราะห์ ซึ่งต่อมาได้มอบให้มูลนิธิ เชียงใหม่สามัคคีการกุศล โรงเรียนจีนทั้งสอง มีความเจริญก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง ในช่วงเวลา 20 ปี ได้จัดซื้อที่ดินมากกว่า 136 ไร่ ในอำเภอสารภี และอำเภอหางดง เพื่อทำนานำข้าวไปขาย เอาราย กำไรมาใช้เป็นทุนสนับสนุนโรงเรียนจีนทั้งสองแห่ง
เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 รัฐบาลสั่งปิดโรงเรียนจีนทั่วประเทศ โรงเรียนจีนทั้งสองแห่งจึงถูกปิดลง เมื่อสงครามยุติแล้ว จึงมีการขออนุญาตจัดตั้งโรงเรียน จีนขึ้นอีกครั้ง
กลุ่มผู้นำโรงเรียนฮั่วเอ็งและโรงเรียนฮั่วเคี้ยว และชาวจีนที่ยังคงยืนหยัดสืบทอดเจตนารมย์เดิม ได้ร่วมกันตั้ง "โรงเรียนสหฮั่วเอ็ง-ฮั่วเคี้ยว" ทำการเปิดสอนอย่างไม่เป็นทางการบนที่ดินโรงเรียนฮั่วเอ็งเดิม
ได้รับใบอนุญาตจากรัฐบาลให้จัดตั้ง “โรงเรียนชิงหัว" อย่างเป็นทางการ แต่สามารถเปิดสอนได้เพียงระยะหนึ่งท่านั้น ได้ถูกรัฐบาลสั่งปิดและถอนใบอนุญาตอีกครั้ง ด้วยข้อหาทำผิดระเบียบการเรี่ยไรเงินในปลาย ปี 2489
นอกจากนี้ ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติแล้ว มีกลุ่มชาวจีนรุ่นใหม่อีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่งเป็นคนละกลุ่มกับกลุ่มผู้บริหารโรงเรียนฮั่วเอ็ง-ฮั่วเคี้ยว ได้เปิดสอนภาษาจีน จนเป็นที่นิยม และ ได้รับใบอนุญาตจัดตั้ง "โรงเรียนซินเชิง" เปิดสอนระดับประถมศึกษา มีนายหุ่งเจียว แซ่จิว เป็นผู้รับใบอนุญาต โดยเช่าที่ดินด้านหลังที่ทำการเทศบาลนคร เชียงใหม่ เป็นที่ตั้งโรงเรียน
เมื่อถูกถอนใบอนุญาต กลุ่มผู้นำของโรงเรียน ที่ยังคงมุ่งมั่นที่จะเปิดโรงเรียนจีนต่อไปโดย นายเป็กสิ่ว แซ่ลิ้ม ได้ยื่นขออนุญาตจัดตั้งโรงเรียนจีนใหม่อีกครั้ง และได้รับใบอนุญาตจัดตั้ง "โรงเรียนช่องฟ้า" เปิดสอนในระดับประถมศึกษา เริ่มแรกใช้ที่ดินโรงเรียนฮั่วเคี้ยวต่อมาได้ย้ายมาใช้ที่ดินที่เคยเป็นที่ตั้งโรงเรียนฮั่วเอ็ง และโรงเรียนชิงหัว สืบต่อมาได้อีกครั้งหนึ่ง
ได้รับใอนุญาตบจัดตั้ง "โรงเรียนศักดาวิทยา" เป็นโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา โดยการนำของ นายริ้ว ศักดาทร ได้ใช้ที่ดินหลังโรงเรียนช่องฟ้า ต่อมามีการเปลี่ยนชื่อเป็น ”โรงเรียนวาณิชบำรุงวิทยา"
นายณรงค์ ศักดาทร ผู้ได้รับใบอนุญาตโรงเรียนช่องฟ้า และโรงเรียนวาณิชบำรุงวิทยา ร่วมกับคณะกรรมการบริหารโรงเรียน มีมติเอกฉันท์ ให้ดำเนินการขอจดทะเบียน จัดตั้ง "มูลนิธิช่องฟ้าวาณิชบำรุงวิทยา" เพื่อรวบรวมที่ดินทุกแปลงให้โอนมาเป็นชื่อมูลนิธิ โดยได้รับใบอนุญาตจดทะเบียนจัดตั้ง วันที่ 21 มีนาคม 2517
มีการเปลี่ยนชื่อเป็น "มูลนิธิช่องฟ้าซินเชิงวาณิชบำรุงวิทยา" โดยรวมกิจการโรงเรียนซินเชิงมาอยู่ภายใต้การบริหารของมูลนิธิฯ
คณะกรรมการมูลนิธิฯ ได้ตัดสินใจย้ายที่ตั้งโรงเรียนทั้งสามไปอยู่ในที่ดิน ที่บรรพชนได้ซื้อไว้ทำนาในอำเภอสารภี เพื่อนำที่ดินที่ตั้งโรงเรียนช่องฟ้าและวาณิชบำรุงวิทยา ให้นักลงทุนเช่าระยะยาวไปประกอบกิจการศูนย์การค้าไนท์บาซาร์
คณะกรรมการมูลนิธิฯ ต้องขอจดทะเบียนเลิกกิจการโรงเรียนวาณิชบำรุงวิทยา เพราะปัญหาขาดทุนมาอย่างต่อเนื่อง
ได้รวมโรงเรียนช่องฟ้า และ โรงเรียนซินะเซิงให้เป็นหนึ่งเดียว โดยนำนักเรียนและคณะผู้บริหารครูบุคลากร มารวมไว้เป็นโรงเรียนเดียวกันและขอเปลี่ยนชื่อเป็น "โรงเรียนสหศึกษา" เปิดสอนในระดับประถมศึกษา เพื่อเป็นการลดค่าใช้จ่ายและการขาดทุน
ได้รับอนุญาตให้ขยายการศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
ได้รับอนุญาตให้ขยายการศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
ได้รับอนุญาตให้เปลี่ยนชื่อเป็น "โรงเรียนช่องฟ้าซินเซิงวาณิชบำรุง" มาจนถึงปัจจุบัน